รายละเอียดโมดูล รุ่นที่ 2 ปี 2563

ภาพรวมของหลักสูตร

ลำดับการเรียน

Module 00 : Introduction to python for data science

     การเรียนในส่วนนี้จะเป็นการเขียนโปรแกรมภาษาไพทอนสำหรับงานวิทยาศาสตร์ข้อมูล เพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการประมวลผลข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น การเตรียมข้อมูล รวมถึงการนำไปต่อยอดใช้ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้ของเครื่องได้

เนื้อหา (Contents) : 

  • การเขียนโปรแกรมภาษา Python เบื้องต้น
  • การจัดการข้อมูลด้วย Dataframe
  • การทำให้เห็นภาพ (Data visualization)

เมื่อจบโมดูลแล้วผู้เรียนสามารถ (Learning Outcome):

  • เขียนโปรแกรมภาษา python เบื้องต้นได้
  • เลือกชนิดของการเก็บข้อมูลที่เหมาะสมกับข้อมูลได้
  • ประยุกต์ใช้ฟังก์ชันในแพ็คเกจที่สร้างไว้สำหรับการประมวลผลข้อมูลโดยเฉพาะได้
  • นำข้อมูลมาแสดงในรูปแบบกราฟฟิกที่ช่วยในการทำความเข้าใจวิเคราะห์ข้อมูลได้

ความรู้ก่อนเรียน (Prerequisite knowledge) : ไม่มี

Module 01 : การเตรียมข้อมูล การสกัดและการเลือกคุณลักษณะ (Data Preprocessing, Feature extraction and selection)

     เมื่อมีปัญหาที่ต้องการแก้ การระบุปัญหาให้ชัดเจนจะช่วยให้การเลือกวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม และที่สำคัญที่สุดคือการเลือกข้อมูลที่เหมาะสมมาช่วยในการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหานั้น โมดูลนี้จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การระบุปัญหา ขอบเขตของปัญหา การพิจารณาข้อมูลที่คิดว่าจะช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การสกัดคุณลักษณะที่ต้องการเพิ่มเพื่อนำมาพิจารณาความสำคัญ รวมถึงแนวทางในการประเมินความสำเร็จของการวิเคราะห์ข้อมูล 

เนื้อหา (Contents) : 

  • ปัญหาและลักษณะข้อมูลที่ใช้วิธีการเรียนรู้ของเครื่อง
  • การสกัดและการเลือกคุณลักษณะที่สำคัญ
  • การวิเคราะห์ feature ของข้อมูลที่มีโอกาสมีผลต่อการวิเคราะห์ทั้งทางตรงและทางอ้อม

เมื่อจบโมดูลแล้วผู้เรียนสามารถ (Learning Outcome):

  1. กำหนดเป้าหมายของปัญหาที่จะให้กระบวนการเรียนรู้ของเครื่องเรียนรู้จากข้อมูลได้อย่างชัดเจน
  2. แยกแยะความแตกต่างของวิธีเรียนรู้ของเครื่องแบบไม่มีผู้สอนและแบบมีผู้สอนได้
  3. เลือกคุณลักษณะที่มีผลต่อการวิเคราะห์ทั้งทางตรงและทางอ้อมด้วยกระบวนการที่เหมาะสม

ความรู้ก่อนเรียน (Prerequisite knowledge): ไม่มี

Module 02 : การสร้างแบบจำลองเพื่อทำนายข้อมูลที่มีค่าต่อเนื่อง (Regression-Supervised machine learning)

     โมดูลนี้เป็นการเรียนรู้และฝึกสร้างแบบจำลองการทำนายข้อมูลที่มีค่าต่อเนื่อง โดยเริ่มจากการประเมินคุณลักษณะที่สำคัญกับการทำนาย เพื่อให้ได้แบบจำลองที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด รวมถึงวิธีการฝึก วิธีการประเมิน และวิธีการนำเสนอผลของการวิเคราะห์เพื่อให้สามารถนำไปใช้กับสถานการณ์จริงได้อย่างมั่นใจ 

เนื้อหา (Contents) : 

  • การทำให้ข้อมูลอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
  • แบบจำลองเพื่อทำนายข้อมูลที่มีค่าต่อเนื่อง
  • วิธีการวัดประสิทธิภาพของผลการทำนาย
  • ไปป์ไลน์ของการสร้างแบบจำลองเปิดทำนายข้อมูลที่มีค่าต่อเนื่อง
  • การป้องกันและตรวจสอบการเกิด overfitting และ underfitting  ในขณะฝึก Machine Learning model
  • การแบ่งข้อมูลเพื่อใช้ในการตรวจสอบประสิทธิภาพ และจำลองการใช้งานจริง

เมื่อจบโมดูลแล้วผู้เรียนสามารถ (Learning Outcome):

  • ประเมิน feature ที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจสำหรับการทำนายค่าต่อเนื่องได้
  • ฝึกแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องด้วยวิธีและกระบวนการที่เหมาะสมที่จะช่วยให้ผลของการฝึกใกล้เคียงกับการนำไปใช้งานจริงมากที่สุด
  • เลือกตัวแบบในการทำนายโดยใช้วิธีการประเมินจากผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เหมาะสม
  • แสดงผลและตีความผลการทำนายโดยใช้วิธีการทำให้เห็นภาพและการบรรยายที่เหมาะสม

ความรู้ก่อนเรียน (Prerequisite knowledge)

Module 01: การเตรียมข้อมูล การสกัดและการเลือกคุณลักษณะ (Data  Preprocessing, Feature extraction and selection)

Module 03 : การสร้างแบบจำลองเพื่อทำนายประเภทของข้อมูล (Classification-Supervised machine learning)

     ปัจจุบันการใช้ AI  ช่วยตัดสินใจเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อย ๆ  Machine Learning  เป็นหนึ่งในเบื้องหลังที่สำคัญของความสำเร็จนั้น การสร้างแบบจำลองที่มีประสิทธิภาพ อาจต้องทำหลายขั้นตอน หลายรูปแบบ เพื่อเลือกรูปแบบที่ดีที่สุด ในโมดูลนี้จะช่วยให้เข้าใจ และสามารถสร้างแบบจำลองเพื่อทำนายประเภทของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีวิธีการวัดที่ชัดเจนในแต่ละขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นการเลือกคุณลักษณะที่สำคัญ การเลือกโมเดล การประเมินผลการทำนาย การตีความหมายของโมเดลและผลการทำนาย ซึ่งทั้งหมดนี้จะได้ฝึกปฏิบัติทั้งเครื่องมือที่ใช้กับข้อมูลทั่วไปและเครื่องมือที่ใช้สำหรับข้อมูลขนาดใหญ่

เนื้อหา (Contents) :

  • การเลือก feature ที่สําคัญต่อการตัดสินใจ
  • แบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องแบบต่าง ๆ
  • การวิเคราะห์แบบจำลองเพื่อทำข้อมูลให้อยู่ในรูปมาตรฐานเดียวกัน
  • การวัดประสิทธิภาพของแบบจำลองจากผลการทำนาย
  • ไปป์ไลน์ของการสร้างแบบจำลองเปิดทํานายประเภทของข้อมูล
  • การป้องกันเเละการตรวจสอบการเกิด overfitting และ underfitting ขณะฝึกแบบจำลอง
  • การแบ่งข้อมูลเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพและจําลองการใช้งานจริง
  • Visualization และการตีความผลการทำนายเพื่อการนำเสนอ
  • การนำไปใช้กับข้อมูลใหม่ในอนาคต

เมื่อจบโมดูลแล้วผู้เรียนสามารถ (Learning Outcome):

  • ประเมิน feature ที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจสำหรับการทำนายประเภทของข้อมูลได้
  • ฝึกแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อทำนายประเภทของข้อมูลด้วยวิธีและกระบวนการที่จะช่วยให้ผลของการฝึกใกล้เคียงกับการนำไปใช้จริงมากที่สุด
  • เรียกตัวแบบในการทำนายประเภทข้อมูลโดยใช้วิธีการประเมินที่เหมาะสมจากผลลัพธ์การเรียนรู้ได้
  • แสดงผลและตีความผลการทำนายโดยใช้วิธีการทำให้เห็นภาพและการบรรยายที่เหมาะสมกับแบบจำลองต่าง ๆ ได้

ความรู้ก่อนเรียน (Prerequisite knowledge)

Module 01: การเตรียมข้อมูล การสกัดและการเลือกคุณลักษณะ (Data  Preprocessing, Feature extraction and selection)

Module 04 : การหาค่าที่เหมาะสมที่สุด (Optimization)

Module 05  การจัดตารางเวลา (Scheduling)

Module 05 : การจัดตารางเวลา (Scheduling)

เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการตารางเวลาโดยใช้หลักการวางแผนงาน รวมถึงใช้หลักการทางการประมวลผลการฟ เพื่อวางแผนและจัดตารางเวลาของงานที่มีความสัมพันธ์กัน และมีเงื่อนไขที่หลากหลาย

เนื้อหา (Contents) : 

  • Introduction to Planning and Scheduling
  • Planning Principles
  • Algorithms for Planning
  • Planning Graphs
  • Analysis of Planning Approaches
  • Scheduling Principles
  • Time, Schedules, and Resources
  • Scheduling Algorithms

เมื่อจบโมดูลแล้วผู้เรียนสามารถ (Learning Outcome):

  • ประยุกต์ใช้ในการจัดตารางเวลาของงานที่เกี่ยวข้องกันได้

ความรู้ก่อนเรียน (Prerequisite knowledge)

Module 01: การเตรียมข้อมูล การสกัดและการเลือกคุณลักษณะ (Data  Preprocessing, Feature extraction and selection)

Module 06 : การตรวจจับความผิดปกติ (Anomaly detection)

     เรียนรู้การตรวจหาข้อมูลผิดปกติทั้งจากข้อมูลทั่วไปและสัญญาณจากอุปกรณ์ตรวจวัดอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถจับความผิดปกติ การรับทราบปัญหาอย่างทันท่วงที รวมถึงการวางแผนซ่อมบำรุง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต ในบางกรณีข้อมูลที่บันทึกไว้อาจมีข้อมูลตัวอย่างของความผิดปกติที่เคยเกิดขึ้น แต่ในบางกรณีมีเฉพาะข้อมูลที่ปกติ ซึ่งสามารถนำมาฝึกโมเดลการเรียนรู้ของเครื่องโดยใช้โมเดลที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เนื้อหา (Contents) : 

  • สำรวจข้อมูลด้วยค่าทางสถิติและใช้ Visualization
  • การระบุข้อมูลผิดปกติ (Anomaly detection) แบบคุณลักษณะเดียว (Univariate) และหลายคุณลักษณะ (Multivariate)
  • การระบุข้อมูลผิดปกติ (Anomaly detection) โดยใช้ Machine learning
  • การแสดงผลการวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principle Component Analysis: PCA)

เมื่อจบโมดูลแล้วผู้เรียนสามารถ (Learning Outcome):

  • ทำการวิเคราะห์เพื่อระบุข้อมูลผิดปกติจากข้อมูลทั่วไปได้โดยใช้หลักการทางสถิติได้
  • สร้างโมเดลทางการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine learning model) ที่สามารถนำมาใช้ตรวจจับความผิดปกติได้โดยการฝึกโมเดลทั้งจากข้อมูลที่มีเฉพาะสถานการปกติอย่างเดียว และการฝึกโมเดลจากข้อมูลที่มีทั้งข้อมูลปกติและผิดปกติอยู่ด้วยกัน
  • แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีหลายมิติด้วยการลดจำนวนมิติเพื่อการแสดงผลที่เหมาะสมได้

ความรู้ก่อนเรียน (Prerequisite knowledge)

Module 01: การเตรียมข้อมูล การสกัดและการเลือกคุณลักษณะ (Data  Preprocessing, Feature extraction and selection)

Module 07 : การประมวลผลภาพเบื้องต้น (Basic image processing

     เรียนรู้หลักการบันทึกภาพ และหลักการแทนค่าสีด้วยแบบจำลองแบบต่าง ๆ เพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการประมวลผลภาพได้อย่างเหมาะสม เรียนรู้การปรับปรุงคุณภาพของภาพไม่ว่าจะเป็นความสว่าง ความคมชัด การลดสัญญาณรบกวน การเน้นองค์ประกอบที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิคขั้นสูงเพื่อให้ได้ภาพที่พร้อมสำหรับการใช้งานเฉพาะทาง

เนื้อหา (Contents) : 

  • ภาพและการบันทึกภาพใน computer
  • แบบจำลองสี (Color model)
  • การประมวลผลภาพเบื้องต้น
  • การประมวลผลภาพที่อยู่บนโดเมนของความถี่ (Frequency domain)
  • การทำคอนโวลูชัน
  • การประมวลผลภาพเพื่อเน้นองค์ประกอบที่ต้องการ

เมื่อจบโมดูลแล้วผู้เรียนสามารถ (Learning Outcome):

  • ใช้หลักการวิเคราะห์สีเพื่อวิเคราะห์การปลอมปนของวัตถุดิบที่แยกได้ด้วยสีได้
  • สามารถปรับปรุงคุณภาพของภาพให้องค์ประกอบที่สนใจเด่นชัดขึ้นมาได้
  • ใช้หลักการการประมวลผลภาพเพื่อเน้นองค์ประกอบที่ต้องการเพื่อวิเคราะห์การปลอมปนของวัตถุดิบที่มีความซับซ้อนได้

ความรู้ก่อนเรียน (Prerequisite knowledge)

  • ไม่มี
Module 08 : การแยกองค์ประกอบของภาพ (Image segmentation)

     เรียนรู้เกี่ยวกับการแยกองค์ประกอบของภาพดิจิทัล เพื่อนำองค์ประกอบที่สนใจไม่ว่าจะเป็นวัตถุต่างชนิด หรือภาพพื้นหลัง มาใช้งานสำหรับการวิเคราะห์ต่อ ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับความซับซ้อนขององค์ประกอบในภาพ ตั้งแต่ใช้วิธีแบบไม่มีผู้สอน (Unsupervised) ไปจนถึงการเรียนรู้เชิงลึก (Deep learning)

เนื้อหา (Contents) : 

  • การแยกส่วนประกอบที่สนใจด้วยค่า Threshold (Thresholding image segmentation)
  • การแยกส่วนประกอบโดยการใช้การเรียนรู้ของเครื่องแบบไม่มีผู้สอน (Unsupervised machine learning)
  • การแยกส่วนประกอบโดยการใช้การเรียนรู้ของเครื่องแบบไม่มีผู้สอน (Supervised machine learning)

เมื่อจบโมดูลแล้วผู้เรียนสามารถ (Learning Outcome):

  • ใช้หลักการการแยกส่วนประกอบเพื่อวิเคราะห์การปลอมปนของวัตถุดิบได้
  • ใช้ตรวจหาวัตถุที่สนใจในภาพได้

ความรู้ก่อนเรียน (Prerequisite knowledge)

Module 07 การประมวลผลภาพเบื้องต้น (Basic image processing)

Module 09 : การตรวจจับใบหน้า (Face detection)

     การตรวจจับใบหน้าเป็นหนึ่งในวิธีการตรวจจับวัตถุในภาพโดยใช้วิธีแบบมีผู้สอน สามารถใช้ได้หลายวิธีซึ่งมีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของการนำไปใช้ เนื้อหาส่วนนี้จะได้เรียนรู้วิธีการต่าง ๆ และสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการใช้วิธีการเหล่านั้น

เนื้อหา (Contents) : 

  • การตรวจจับใบหน้าโดยใช้แม่แบบ (Template matching)
  • การตรวจจับใบหน้าโดยใช้ Haarcascade
  • การตรวจจับใบหน้าโดยใช้ Deep learning

เมื่อจบโมดูลแล้วผู้เรียนสามารถ (Learning Outcome):

  • ประยุกใช้เทคนิคการตรวจจับใบหน้ากับภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวได้
  • สกัดใบหน้าของบุคคลที่อยู่ในภาพทั้งภาพนี่งและภาพเคลื่อนไหวได้

ความรู้ก่อนเรียน (Prerequisite knowledge)

Module 07 การประมวลผลภาพเบื้องต้น (Basic image processing)

Module 10 : การแยกประเภทภาพ (Image classification) การรู้จำใบหน้า และอารมณ์ (Face and emotion recognition)

     การแยกประเภทภาพสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลายในปัจจุบันตั้งแต่การแยกองค์ประกอบของภาพ การรู้จำวัตถุ การรู้จำใบหน้าและอารมณ์ ไปจนถึงการทำรถขับเคลื่อนอัตโนมัติ เนื้อหาส่วนนี้จะได้เรียนรู้การสร้างและนำโมเดลทางการเรียนรู้ของเครื่องมาใช้กับแยกประเภทภาพ ซึ่งหากนำมาใช้ร่วมกับการทำนายหรือแยกประเภทขององค์ประกอบในภาพที่แยกออกมาแล้วก็จะสามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลาย

เนื้อหา (Contents) : 

  • การเรียนรู้จากตัวอย่าง (instance based learning)
  • การเรียนรู้โดยใช้โมเดลการเรียนรู้ของเครื่องแบบมีผู้สอน (Supervised machine learning)
  • การเรียนรู้โดยใช้ Deep learning

เมื่อจบโมดูลแล้วผู้เรียนสามารถ (Learning Outcome):

  • แยกประเภทของภาพโดยใช้ข้อมูลภาพทั้งภาพหรือข้อมูลองค์ประกอบในภาพได้
  • สร้างโมเดลการรู้จำใบหน้าได้
  • สร้างโมเดลการแยกประเภทอารมณ์จากใบหน้าได้

ความรู้ก่อนเรียน (Prerequisite knowledge)

Module 07 การประมวลผลภาพเบื้องต้น (Basic image processing)

Module 11 : เครื่องมือที่ช่วยในการจัดการ Big data และการใช้งานร่วมกับเครื่องมือทั่วไป (Big data tool and integration)

     เมื่อข้อมูลเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีความหลากหลายขึ้นเนื่องจากเทคโนโลยีในการตรวจวัดและจัดเก็บเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดข้อมูลปริมาณมหาศาลจนส่งผลให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งการจัดเก็บ การประมวลผลเพื่อสรุปผลทำความเข้าใจ และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การเรียนรู้ของเครื่อง โมดูลนี้จะเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการกับข้อมูลมหาศาลเหล่านั้นได้อย่างง่ายดาย

 

เนื้อหา (Contents) : 

  • Hadoop และเครื่องมือที่ใช้งานร่วมกัน
  • ระบบไฟล์แบบกระจายของ Hadoop (Hadoop Distributed File System: HDFS)
  • เฟรมเวิร์คในการประมวลผลข้อมูลแบบ MapReduce
  • การใช้งาน Hadoop as a service บน Cloud

เมื่อจบโมดูลแล้วผู้เรียนสามารถ (Learning Outcome):

  • อธิบายการทำงานของ Hadoop และองค์ประกอบต่าง ๆ ได้พอสังเขป
  • สร้าง Hadoop cluster เพื่อใช้ในการประมวลผล Big data บน cloud ได้

ความรู้ก่อนเรียน (Prerequisite knowledge) : ไม่มี

Module 12 : การเรียนรู้ของเครื่องบนสภาพแวดล้อมของ Big data (Machine learning on Big data environment)

     Apache Spark  เป็นซอฟต์แวร์แบบโอเพ่นซอร์สที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ ทำให้การทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ ของการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว การเรียนรู้การใช้งาน Spark  จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ให้ได้ประโยชน์เชิงลึกจากข้อมูลนั้นมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โมเดลนี้จะได้เรียนรู้การดำเนินการกับข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการใช้ Machine Learning Library ของ Spark เพื่อความคุ้นเคยกับการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล

เนื้อหา (Contents) : 

  • หลักการทำงานของ Spark
  • Spark DataFrame
  • การจัดการข้อมูลใน DataFrame
  • Spark Machine learning library

เมื่อจบโมดูลแล้วผู้เรียนสามารถ (Learning Outcome):

  • ใช้ transformation และ action ของ spark เพื่อประมวลผลข้อมูลที่เก็บอยู่บน Hadoop cluster ได้
  • ประมวลผลข้อมูลโดยใช้ DataFrame API กับภาษา python ได้
  • สร้างโมเดลการเรียนรู้ของเครื่องบน Big data ได้

ความรู้ก่อนเรียน (Prerequisite knowledge)

Module 11 Big data tool and integration

ภาพรวมของหลักสูตร

โมดูลกับวิชาเรียน

Advance data science tool

1229px-TensorFlowLogo.svg
750px-OpenCV_Logo_with_text_svg_version.svg

Visualization tool

Data ingestion and ETL tools

2500px-Hadoop_logo_new.svg
1000px-Apache_Hive_logo.svg

Other tool

883px-Jupyter_logo.svg

ตารางการเรียนการสอนและการให้คำปรึกษา

ระยะเวลาเรียน

  • ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ระหว่างวันที่ 11 กันยายน 2563 – 18 ธันวาคม 2563
    • เรียนทุกวันศุกร์และวันเสาร์ เวลา 09.00 – 16.00 น. ห้องปฏิบัติการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • Worked Integrated Learning (WIL)
    • ผู้เรียนเรียนรู้แก้ปัญหาจากโจทย์จริงของสถานประกอบการที่สังกัด ณ สถานประกอบการเต็มเวลา
    • จันทร์ – พฤหัสบดี (กันยายน 2563 – ธันวาคม 2563)
    • ผู้สอนให้คำปรึกษาเพื่อร่วมแก้โจทย์ปัญหาจากสถานประกอบการ ตามนัดหมาย ทั้งหลังคลาสเรียนและการให้คำปรึกษาออนไลน์ผ่านทาง Microsoft Teams

ตารางการเรียนการสอนและการให้คำปรึกษา

  • วันศุกร์ เวลา 00 – 16.00 น. ณ ห้อง ณ ห้อง Classroom 4/2 ชั้น 4
  • วันเสาร์ เวลา 00 – 12.00 น. ณ ห้อง Training Learning Space ชั้น 2
  • วันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้อง Training I และ Training II,V ชั้น 1